www.wuttungtoom.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ประวัติความเป็นมา 

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู 

     ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ ไม่อาจนับจำนวน ปีที่ที่แน่นอนได้  เพียงแต่ประมาณเวลาได้เท่านั้น นักการศาสนา นักปรัชญา  นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคของลัทธิ ศาสนานี้ออกเป็นหลายแบบแตกต่างกัน เช่น พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ) แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์เป็น 7 ยุค คือ ยุคก่อนอารยัน ยุคอารยันเข้าอินเดีย ยุคฤคเวท ยุเวทต่าง ๆ 

ยุคพราหมณะ ยุอุปนิษัท และยุคพุทธกาล 

ตรีมูรติ

ตรีมูรติ  เทพเจ้าสามองค์ในร่างเดียวกัน ของพราหมณ์ - ฮินดู 

พระพรหม

พระวิษณุหรือพระนารายณ์เทพเจ้าผู้รักษา

พระศิวะ

พระพรหม เทพเจ้า ผู้สร้างโลก และสรรพสิ่ง 

พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เทพเจ้าผู้รักษาโลก กับพระลักษมี

พระศิวะหรือพระอิศวร

 เทพเจ้าผู้ทำลาย

          ศาสนาพราหมณ์ เกิดในประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศาสนา ประมาณ ๑.๐๐๐ ปีขึ้นไป พระพุทธเจ้า ขณะยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ไปศึกษา คำสอนของศาสนาพราหมณ์จนจบไตรเพท จบโยคะ และหมดคำสอน ของอาจารย์ (คืออาฬาระดาบส กับอุททกะดาบส) ศาสนาพราหมณ์ ไม่มีองค์พระศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาที่เป็นมนุษย์เหมือนศาสนาอื่น ๆ  แต่ก่อรูปขึ้นจากลัทธิบูชาธรรมชาติ และวิวัฒนาการเป็นลัทธิบูชาเทพเจ้า ต่าง   หลายองค์  ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

         ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาธรรมชาติ แรกเริ่มเดิมที กำเนิดมาจากความเชื่อ ของชาวอารยันที่นับถือบูชากราบไหว้ธรรมชาติ และเชื่อว่า มีเทพเจ้าประจำ ธรรมชาตินั้น ๆ (ทำนองเดียวกันกับ การเชื่อ หรือการนับถือผีปู่ย่า ตายาย ของไทยเราในสมัยโบราณ) เช่น  ในสมัยพระเวทตอนต้น ชาวอารยัน จัดเทพเจ้า เป็น ๓ หมวด คือ พวกที่หนึ่งอยู่บนสวรรค์ ได้แก่ วรุณ (ฝน = ไทยเรียก พระพิรุณ) สูรย์ (พระอาทิตย์) โสมะ (พระจันทร์) อุษา (แสงเงินแสงทอง) เป็นต้น  พวกที่สองอยู่บนฟ้า  เป็นเทวดาประจำอากาศ ได้แก่ อินทระ (พระอินทร์ = ในศาสนาพุทธ เรียก ท้าวสักกะ เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์) มารุต (ลม) เป็นต้น  พวกที่สามอยู่บนพื้นโลก เป็นเทวดาประจำแผ่นดิน  ได้แก่ อัคนี (ไฟ) ปฤถวี (แผ่นดิน) และยม (พระยม) เป็นต้น  ในสมัยพระเวท นับถือพระอินทร์ว่า เป็นทพเจ้า สูงสุด มีสายฟ้าเป็นอาวุธ สามารถทำลายศัตรูให้พินาศราบคาบลงได้ชั่วพริบตา

         ต่อมาในสมัยพราหมณะ เกิดคำสอนว่า มีเทพองค์หนึ่ง เป็นใหญ่กว่าเทพเจ้า ทั้งหลาย เรียกว่า พระเป็นเจ้า หรือพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก รวมทั้งเทพเจ้า ทั้งหลาย และมนุษย์ แล้วขีดชะตาชีวิตให้  เรียกว่า พรหมเนรมิต และพรหมลิขิต ตามลำดับ (ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง พ่อแม่เท่านั้น สร้างโลก และสร้างมนุษย์  จึงเรียกพ่อแม่ว่าเป็นพรหม) ในสมัยต่อมา ก็มีการเปลี่ยนแปลง ความเชื่อถือ และลัทธิพิธีมาโดยลำดับทุกระยะ จากศตวรรษหนึ่ง ไปยังศตวรรษหนึ่ง กล่าวคือ  ได้เทวดาใหม่ ๆ  มาเพิ่มเติม  เช่น พระวิษณุ  และพระศิวะ  ส่วนเทวดาเก่า ในสมัยพระเวท ก็ลดความสำคัญลง เช่น  พระอินทร์ บางองค์ถูกทอดทิ้ง เช่น พระอัคนี พระวรุณ  เป็นต้น

          ต่อมานักปราชญ์พราหมณ์ คนสำคัญ คือ ศังกรายจารย์ เห็นว่า ศาสนาพราหมณ์ จะอยู่ไม่ได้ เนื่องจากคนหันไปฟังคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ พราหมณ์เอง พราหมณ์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านหันไปพุทธมามกะ  เช่น  พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ  พระมหากัสสปะ และคนอื่น ๆ  อีกมากมาย  สังกรายจารย์ จึงไปศึกษาคำสอนของพุทธศาสนา แล้วเอามาดัดแปลงเข้ากับศาสนาพราหมณ์ แล้วเรียกใหม่ว่า ฮินดู  ซึ่งแปลว่า  ศาสนาของชาวอินเดียว  คือ รวมทุกศาสนา ที่มีอยู่ ในอินเดียวว่า เป็นฮินดูหมด  พระพุทธเจ้า ก็เป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์ ที่เรียกว่า นารายณ์อวตาร คือ เป็นปางที่ ๙ ปางพุทธมายา  แล้วแบ่งคำสอนเลียนแบบพุทธ ว่า ตรีมูรติ (เลียนแบบ พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ =  ไตรรัตน์) ซึ่งแปลว่า รูปสาม  สอนว่า เทพเจ้าที่สำคัญมี    องค์  คือ พระพรหม  พระวิษณุ (พระนารายณ์) และพระศิวะ  เทพเจ้าทั้งสามพระองค์นี้ แท้จริงเป็นองค์เดียวกัน  แต่แบ่งภาคออกเป็น ๓ องค์ เพื่อทำหน้าที่สามประการ คือ พระพรหม มีหน้าที่สร้างสรรค์ พระวิษณุ มีหน้าที่ทะนุบำรุง เลี้ยงดู (นารายณ์อวตาร ลงมาปราบมาร) พระศิวะ มีหน้าที่ทำลาย

     สมัยก่อนในศาสนาพราหมณ์ จะไม่มีวัด แต่จะเป็นเทวสถาน และไม่มีนักบวช หรือ ที่เรียกว่า พระ  ศาสนาพราหมณ์ จะคล้าย ๆ  กับ ศาสนาอิสลาม  คือ  มีครอบครัว มีลูกมีเมียได้  เป็นเศรษฐี  เป็นฏุฎุมพี  เป็นยาจก  เป็นชาวนา  ก็มีทั้งนั้น  เมื่อสังกราจารย์  เลียนแบบพุทธ  จึงมีวัด  มีนักบวช

 

 

พระนารายณ์เกษียรสมุทร

วัดฮินดู

พระนารายณ์เกษียรสมุทร เพื่อให้ได้น้ำอมฤต

วัดในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

สรุปประวัติของศาสนาพราหมณ์ จะแบ่งวิวัฒนาการออกเป็น ๒ ช่วง คือ

     ๑. สมัยพระเวท  เป็นสมัยที่มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้ามากมายหลายพระองค์ (ซึ่งย้ายมาประเทศไทยเกือบทุกพระองค์) แบ่งออกเป็น    กลุ่ม  คือ เทพบนพื้นโลก เทพบนอากาศ และเทพบนสวรรค์ ซึ่งมีเทพเจ้าที่มีความสำคัญ และถูกยกให้ยิ่งใหญ่ กว่าเทพเจ้าองค์อื่น ๆ  คือ พระอินทร์ พระวรุณ และพระพฤหัสบดี ฯลฯ

     ๒. สมัยพราหมณ์  ความเชื่อของมนุษย์ในสมัยนี้ ก้าวไกลออกไปถึงการหาเทพ ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สร้างโลก (เนรมิต) และสร้างสรรพสิ่ง (ลิขิต) เทพเจ้าอง๕ืใหม่นี้ เรียกว่า "พระพรหม" โดยพระองค์ เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่ง ก็เกิดจาก พระองค์  เมื่อตายแล้ว ก็ต้องกลับคืนสู่พระพรหม  นอกจากนี้ ยังมีเทพเจ้า ผู้ยิ่งใหญ่ อีก ๒ องค์ คือ พระวิษณุ (พระนารายณ์) และ พระศิวะ (พระอิศวร) เทพเจ้าทั้ง ๒ องค์ นี้ ได้รับการนับถือเทียบเท่ากับพระพรหม ทำให้เรียกเทพเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ว่า "ตรีมูรติ" ซึ่งแปลว่า "รูปสาม" ดังกล่าวแล้ว คือ

          - พระพรหม                                    เทพผู้สร้าง

- พระวิษณุหรือพระนารายณ์                  เทพผู้รักษา

- พระศิวะหรือพระอิศวร                       เทพผู้ทำลาย

         จากความเชื่อเรื่องตรีมูรติ ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องของการเกิดยุค ซึ่งเรียกว่า "กัลป์" ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่พระพรหมสร้างโลก พระนารายณ์รักษาโลก ให้พ้นอำนาจของคนชั่ว  จนกระทั่ง พระศิวะต้องทำหน้าที่มาล้างและทำลายโลก ดังนั้น ๑ กัลป์ จึงมีช่วงเวลาตั้งแต่โลกถูกสร้างขึ้นมา จนถึงโลกถูกทำลายไป  แบ่งออกเป็น    ยุค คือ

๑. กฤตยุค   หมายถึง  ยุคที่มนุษย์มีความดีอย่างเต็มเปี่ยม

๒. ไตรดายุค หมายถึง  ยุคที่ความชั่วเริ่มเข้ามาในสังคม ประมาณ ๑ ใน ๔

     แต่ความดียังมากกว่า

๓. ทวาปรยุค หมายถึง  ยุคที่มีความชั่วเข้ามาในสังคมครึ่งหนึ่ง มีความดี

     และความชั่วเท่าเทียมกัน

๔. กลียุค   หมายถึง  ยุคที่มีความชั่วเข้ามา    ส่วน  ความดีเหลืออยู่ เพียงส่วนเดียว ทำให้สังคมมีความชั่วมากกว่าความดี สังคมวุ่นวาย

    

 

 

นารายณ์ปางต่าง ๆ

          มัตสยาวตาร  อวตารลงมาเป็นปลา เพื่อช่วยมนุษย์เมื่อคราวน้ำท่วมโลก ฆ่ายักษ์ ที่ชื่อยหครีวะ  ผู้เป็นต้นเหตุให้มนุษย์มีความเห็นผิดลุ่มหลง

          กูรมาวตาร อวตารลงมาเป็นเต่าในทะเลน้ำนม (เกษียรสาคร) เอาหลังรองรับ ภูเขาชื่อมันทาระ เทพยดานำพญานาคมาต่างเชือกชักภูเขา เพื่อกวนมหาสมุนทร (นารายณ์เกษียรสมุนทร) ให้เกิดน้ำอมฤต และสิ่งมีค่า อื่น ๆ  รวม ๑๔ อย่าง

          วราหาวตาร  อวตารลงมาเป็นหมู่ป่า เพื่อปราบยักษ์ ผู้มีนามว่า "หิรัณยากษะ" ผู้จับโลกกดลงไปใต้ทะเล  ตามตำนานกล่าวว่า แต่เดิมโลก เป็ฯก้อนน้ำกลม  แต่ด้วยเขี้ยวของหมูป่าดุนให้โลกสูงขึ้นมาจากน้ำได้ คนจึงได้อาศัยอยู่บนโลกทุกวันนี้

          นรสิงหาวตาร  อวตารลงมาเป็นมนุษย์สิงห์ คือครึ่งมนุษย์ครึ่งสิงห์  เพื่อปราบยักษ์ชื่อ "หิรันยกศิปุฯ  ผู้ได้พรจากพระพรหมว่า จะไม่ถูกมนุษย์ เทพ หรือสัตว์ฆ่าให้ตายได้  ยักษ์จึงกำเริบรุกานโลกทั้ง    (สวรรค์ มนุษย์ ยม หรือนรก) พระนารายณ์ จึงอวตารเป็นนรสิงห์ ทำลายยักษ์นั้น ถึงแก่ชีวิต  เพราะนรสิงห์มิใช่คน มิใช่สัตว์

          วามนาวตาร  อวตารลงมาเป็นคนค่อม เพื่อปราบยักษ์ชื่อพลิ  มิให้มีอำนาจ ครองโลกทั้ง  โดยขอเนื้อที่เพียง    ก้าว  เมื่อพลิยักษ์ ยินยอม จึงก้าวไป    ก้าว ก็เกินสวรรค์และเกินโลก แต่ด้วยความกรุณา จึงประทานโลกใต้บาดาล ให้ยักษ์นั้นไป

          ปรศุรามาวตาร  อวตารลงมาเป็นรามผู้ถือขวาน ในเรื่องเล่ากันว่า พระวิษณุ อวตารลงมาเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้มีนามว่า "ยมทัคนี" และสืบสกุลมาจาก ภฤคุ  เพื่อป้องกันมิให้กษัตริย์ครอบครองอาณาจักรเหนือวรรณะพราหมณ์ ปรศุราม ได้ชำระโลกถึง ๒๑ ครั้ง เพื่อให้ปราศจากวรรณะกษัตริย์

          รามาวตาร  อวตารลงมาเป็นรามจันทร์ (พระราม ผู้อ่อนโยน หรือ เปรียบเสมือนพระจันทร์  คือ เป็ฯพระรามในเรื่องรามายณะ หรือ ที่ไทยเรา เรียกว่า "รามเกียรติ์" เพื่อปราบยักษ์ชื่อวรรณะ หรือทศกัณฐ์

กฤษณาวตาร  อวตารลงเป็นพระกฤษณะ (ผู้มีผิวดำ) ในเรื่องมหาภารตะ เพื่อทำลายกษัตริย์กังสะผู้ทารุณ  ซึ่งเท่ากับเป็นตัวแทนแห่งความชั่วร้าย การปราบผู้ชั่วร้ายเช่นนี้ ย่อมคล้ายคลึงกับอวตารที่ ๗ ที่ทรงปราบทศกัณฐ์

          พุทธาวตาร หรือ ปางมายา อวตาร ลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เหตุผลทางฝ่าย พราหมณ์ บางพวกผู้เกลียดพระพุทธศาสนาก็ว่า พระวิษณุ อวตารลงมาเป็น พระพุทธเจ้า แต่เหตุผลอีกทางหนึ่ง ศาสนาฮินดูเห็นว่า จะสู้พระพุทธศาสนา ไม่ได้ จึงแต่งเรื่องนี้ขึ้น เพื่อกลืนพระพุทธศาสนา เข้ามาไว้ในศาสนาฮินดู ดังกล่าวแล้ว บางพวก บอกว่า อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อลวง พวกอสูรให้ไปนับถือพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่า ปางมายา เทวดาจะได้มานับถือพราหมณ์ ดังนั้น ผู้ที่เป็นชาวพุทธ ถือว่าเป็นอสูรในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ศาสนาคริสต์ ก็เลียนแบบพราหมณ์ โดยบอกว่า พระพุทธเจ้า เป็นประกาศกของพระเยซู ผู้ใคร่ศึกษา ควรหาอ่านดู)

          กัลกยาวตาร  อวตารลงมาเป็นกัลกี หรือกัลกีน คือ บุรุษขี่ม้าขาว ถือดาบ มีแสง แปลบปลาบดั่งดาวหาง ปางนี้ เรียกอีกอย่างว่า อัศวาวตาร เพื่อปราบ คนชั่วและสถาปนาธรรมขึ้นใหม่ในโลก

       

โอม

สัญลักษณ์

:

โอม

ความหมาย

:

เป็นคำ ศักดิ์สิทธิ์ในลัทธิโยคะ ใช้สำหรับบริกรรม (ท่องซ้ำ ๆ ) เพื่อให้เกิดความรู้ถึงสิ่งสูงสุด และเพื่อป้องกันอุปสรรค ในการบำเพ็ญโยคะ

หลักคำสอน

     ๑. หลักธรรม  ๑๐  ประการ

๑ ธฤติ  ได้แก่  ความมั่นคง  ความกล้า  ความสุข  คือ ความพากเพียรจนสำเร็จ และพอใจในสิ่งที่ตนมี

          ๒ กษมา  ได้แก่ความอดกลั้น ความอดทน

๓ ทมะ  ได้แก่  การระงับจิตใจ  การข่มใจ

๔ อัสเตยะ  ได้แก่  การไม่ลักขโมย

๕ เศาจะ  ได้แก่  การทำตนให้บริสุทธิ์ ทั้งกายและใจ

๖ อินทรียนิครหะ  ได้แก่  การระงับอินทรีย์ทั้ง ๑๐ คือ ประสาทความรู้ ๕

    ประการ ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น  และผิวหนัง ประสาทความรู้สึก ทางการ

     กระทำ ได้แก่ มือ เท้า ทวารหนัก ทวารเบา และลำคอ

๗ ธี  ได้แก่  ปัญญา  สติ

๘ วิทยา  ได้แก่  ความรู้ทางปรัชญา

๙ สัตยะ  ได้แก่  ความจริง  ความสุจริต  ความซื่อสัตย์

๑๐ อโกธะ  ได้แก่ ความไม่โกรธ

          หลักธรรม  ๑๐  ประการ มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ รู้จักควบคุมตนเอง ไม่ให้หลงมัวเมาในสิ่งผิด

      ๒. หลักอาศรม 

     หลักอาศรม    หมายถึง  ขั้นตอนของชีวิต หรือ ทางปฏิบัติเพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น มี ๔ ประการ คือ

๑ พรหมจารี  เป็นขั้นตอนของเด็กชายตระกูล พราหมณ์ทุกคน จะต้องรับการคล้องด้าย ศักดิ์สิทธิ์ จากอาจารย์ พิธีคล้องด้ายศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า "ยัชโญปวีตเมื่อได้รับการคล้องแล้ว เท่ากับประกาศตนเป็นพรหมจารี ถือว่าเป็น พราหมณ์ โดยสมบูรณ์ จากนั้น จะต้องศึกษา อยู่ในสำนักของอาจารย์จนสำเร็จการศึกษา

๒ คฤหัสถ์  หรือผู้ครองเรือน  เมื่อสำเร็จการศึกษา แล้ว จะกลับบ้านเรือนของตน เพื่อแต่งงาน และมีบุตร

๓ วานปรัสถ์  เป็นช่วงเวลาที่พราหมณ์ ปฏิบัติตน เพื่อสังคมและประเทศ  เมื่อครอบครัวเป็นปึกแผ่น และบุตรได้ออกเรือนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวจะออกป่า เพื่อแสวงหาความวิเวกและฝึกจิตของตน ซึ่งอาจ กระทำเป็นครั้งคราวแล้วกลับสู่เรือนก็ได้  ซึ่งคล้ายกับชาวไทยในพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อแก่เฒ่าลง ก็จะหันหน้าเข้าหาวัด

๔ สันยาสี  เป็นระยะเวลาที่พราหมณ์ ทำเพื่อมนุษยชาติทั้งปวง เป็นการสละชีวิตคฤหัสถ์ ของผู้ครองเรือน เพื่อเข้าป่าออกบวช  และเพื่อจุดหมายสูงสุดของชีวิต คือ โมกษะ

 

๓. หลักปุรุษารถะ หรือจุดมุ่งหมายของชีวิต

          ๑ ธรรม หมายถึง  หลักศีลธรรมในสังคม เพื่อให้สังคมอยู่อย่างสันติสุข

๒ กาม  เป็นการหาความสุขทางโลก  โดยให้ดำเนิน ไปตามแนวของธรรม ซึ่งมีผลให้ตนเอง มีความสุข ขณะที่สังคมก็มีความสุขด้วย

๓ อรรถ  เป็นการแสวงหาทรัพย์ หรือการสร้างฐานะ ทางเศรษฐกิจ โดยยึดแนวทางธรรมเป็นหลัก

๔ โมกษะ  เป็นอิสรภาพแห่งวิญญาณ  หลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิด หรือหลุดพ้น จากสังสารวัฏ  เป็นอุดมคติและคุณค่าสูงสุด ของชีวิต  ถือเป็นความสุขอันเป็นนิรันดร์ (ข้อนี้ น่าจะเลียนแบบพุทธ  เนื่องจากพราหมณ์ มีหลักการ คือ ต้องเข้าสู่ปรมาตมัน คือ พระพรหม ไม่ใช่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด)

 

 ๔. หลักปรมาตมันและโมกษะ

          ๑ ปรมาตมัน  เป็นดวงวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นเอง  เป็นต้นเหตุของสรรพสิ่ง (คล้ายกับ พระเจ้า (God) ในคริสต์ศาสนา) หรือสรรพสิ่ง เกิดจากปรมาตมัน ปรมาตมันเป็นอมตะ ไม่มีเบื้องต้น และไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ทีเพศ เป็นสันติสุขในตัวเอง เป็นปฐมวิญญาณ ของสิ่งทั้งปวง และเป็นบ่อเกิดของอาตมัน

๒ อาตมัน เป็นดวงวิญญาณของปรมาตมัน คือ ที่เกิดเป็นสัตว์ต่าง ๆ  เช่น มนุษย์ เทพเจ้า เดรัจฉาน ฯลฯ

          ๓ โมกษะ  การที่ดวงวิญญาณย่อยหรือาตมัน รวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันได้นั้น จะต้องเข้าถึงจุดหมายของชีวิตให้ได้ ซึ่งก็คือ โมกษะ หรือการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ส่วนวิธี ที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ คือ มรรคสี่ ได้แก่

๔ กรรมมรรค  คือการละกรรม ที่เป็นต้นเหตุ ให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด พึงกระทำกรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึง การหลุดพ้น

๕ ชญานมรรค  คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการรู้แจ้งในบรมสัตย์

๖ ภักติมรรค คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการภักดีในองค์พระเป็นเจ้า

          ๗ ราชมรรค คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการฝึกฝนทางจิต

 

     ๕. หลักทรรศนะ ๖

         หลักทรรศนะ ๖ เป็นหลักธรรม และการปฏิบัติ ที่เป็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ที่ทำให้ความเป็นพราหมณ์กลายมาเป็นความเป็น ฮินดูในปัจจุบัน  หลักทรรศนะ ๖ ได้แก่ ลัทธิสังขยา  ลัทธิโยคะ (เน้นการบริกรรม คำว่า "โอม" เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้ในการภาวนา) ลัทธินยายะ  ลัทธิไวเศษิกะ  ลัทธิมีมางสา หรือปูรวมีมางสา  และลัทธิเวทานตะ

 

๖. คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

๑. ฤคเวท  เป็นคัมภีร์แห่งความรอบรู้ในบทสวด สรรเสริญพระเจ้า

๒. ยชุรเวท  เป็นคัมภีร์รวบรวมบทร้อยกรอง ใช้ในพิธีการบูชายัญในศาสนา

๓. สามเวท เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ สำหรับ ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ  ของประชาชน โดยทั่วไป รวม ๓ อย่างนี้  เรียกว่า ไตรเพทต่อมาเพิ่มเข้ามาอีกคัมภีร์หนึ่ง คือ อาถรรพนเวท เป็นคัมภีร์เวทมนต์ คาถา

ที่เรียกว่า พระเวท มนตร์ขลัง

          ส่วนคัมภีร์รุ่นหลังที่สำคัญ คือ คัมภีร์ภควัทคีตา เป็นคัมภีร์ซึ่งถือว่า เป็ฯยอดวรรณคดี และเป็นหัวใจ ปรัชญาของฮินดู หลักธรรมของคัมภีร์นี้ มีอิทธิพล อย่างแรงกล้าเหนือจิตใจชาวฮินดูตลอดเวลา ๑,๖๐๐ ปี ที่ป่านมา  ถ้อยคำ และสำนวนในคัมภีร์ มีควมไพเราะ อย่างยิ่ง

     คัมพีร์ภควัทคีตา เป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์ มหาภารตะ เป็นส่วนหนึ่ง หรือฉากหนึ่ง ของภีษมบรรพ ในมหากาพย์มหาภารตะ ภควัทคีตา มีความสมบูรณ์ ในตัวเอง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องมหาภารตยุทธ ด้วย  ภควัทคีตา มาจากศัพท์เดิมว่า "ภควัต" สันธิกับ คำว่า "คีตาคำว่า ภควัต  หรือ ภควา หรือ ภควันต์ หมายถึงผู้ที่เป็นที่เคารพอย่างสูง  นาย  หรือที่พึ่ง  คำว่า คีตา แปลว่า เพลง  ดังนั้น ภควัทคีตา จึงแปลว่า บทเพลง แห่งพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง คำสอนที่พระผู้เป็นเจ้า ประทานแก่มนุษย์ เพื่อชี้ทางให้เข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า

     หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู จะดูขัด ๆ  กันอยู่  เนื่องจากอย่างที่บอกแล้ว  คือ  ศังกราจารย์ ปราชญ์ที่สำคัญยิ่งของพราหมณ์ ได้ประยุกต์ คำสอน หรือเลียนแบบคำสอนของพุทธมาไว้ด้วย  จึงดูเหมือน ไม่เป็นตัวของตัวเอง มีทั้งโมกษะ การหลุดพ้นจาก การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งแท้จริงแล้ว หมายถึง การเข้าถึง พระผู้เป็นเจ้า คือ พระพรหม ซึ่งเป็นปรมาตมัน ไม่ได้หมายถึง พ้นจากสังสารวัฏ ถ้าเทียบกับนิพพาน ในพุทธศาสนา ก็ไม่ใช่ เพราะนิพพาน ไม่ได้เข้าร่วมกับ สิ่งใด นิพพานในพุทธศาสนา หมายถึง ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ ซึ่งประสบได้ในปัจจุบัน มิใช่หลังจากตายแล้ว ส่วนจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาที่มีเทพเจ้า ล้วนเข้าถึง เทพเจ้าหลังจากตายแล้ว หรือหลังจากสิ้นโลกแล้วทั้งนั้น ก็ขอให้ท่านผู้สนใจพิจารณาดู

 

ตราสัญญาลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

            วันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์ ฮินดู

เดือน ๕

          เดือน ๕ นี้ จัดว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ตามปฏิทินโหราศาสตร์ของศาสนาฮินดู ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ และในขณะเดียวกันวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ นี้จนกระทั่งถึงขึ้น 9 ค่ำ จะตรงกับนวราตรี ผู้ที่เคารพบูชาพระแม่อุมาจะทำการบูชาเจ้าแม่ทั้ง 9 ปาง ในแต่ละคืนเมื่อเสร็จแล้วจึงจะบูชาไฟและเชิญเด็กหญิงไม่เกิน 10 ขวบ ทั้ง 9 คน โดยเริ่มตั้งแต่ 2 ขวบเรื่อยไปตามลำดับจนครบ 9 ปางมาร่วมพิธี ผู้ชุมนุมในงานจะมอบสิ่งของให้แก่เด็กทั้ง 9 คน  

เดือน 6

 ในเดือนนี้จะมี การบูชาพระวิษณุในวันขึ้น 3 ค่ำ และวันขึ้น 14 ค่ำ สาวนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันศูนย์กลางของ สงกรานต์เป็นวันเพ็ญแรกของปีนับว่ามีความสำคัญมาก ประชาชนจึงทำพิธีบูชาไฟและทำบุญตามประเพณีของตระกูล  

เดือน 7

          วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 เป็นวันบูชาพระวิษณุ มีการอดอาหารและน้ำ 1 วัน 
         
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เป็นวันเริ่มแห่งการเข้าพรรษา นักบวชผู้เป้นสันยาสีจะต้องอยู่ประจำที่ 4 เดือน เพราะเป็นฤดูฝน นอกจาก เดินทางไม่สะดวกแล้ว ยังมีแมลงเกิดขึ้นมากมายอาจเหยีบยย่ำสัตว์เหล่านี้ทำให้เป็นบาปติดตัว  

 

เดือน 8

           วันขึ้น 2 ค่ำจะมีการแห่รูปพระวิษณุ โดยเฉพาะที่แคว้นอัสสัมมีการฉลองพิธีนี้อย่างใหญ่โต วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันไหว้ครู 

 

เดือน 9

           วันขึ้น 5 ค่ำ เรียกว่านาคปัญจมี จำทำการบูชาพญานาคด้วยน้ำนม ถ้างูกินของผู้ใด ผู้นั้นจะได้รับอันตรายจากงูเป็นเวลา 1 ปี
           
แรม 4 ค่ำ เป็นวันบูชาพระพิฆเนศ ซึ่งต้องอดอาหารตลอดวันจนพิธีเสร็จ และพระจันทร์ปรากฏขึ้นเมื่อใดจึงจะรับประทานอาหารได้
           
แรม 6 ค่ำ เป็นวันบูชาพระสุริยเทพส่วนแรม 8 ค่ำ บูชาพระกฤษณะด้วยการอดอาหารจนถึงเที่ยงคืนจึงจะรับประทานอาหาร

 

เดือน 10

            วันขึ้น 3 ค่ำ เป็น วันสำคัญของพระแม่อุมาและพระศิวะเชื่อกันว่าสตรีใดบำเพ็ญตบะในวันนี้จะได้ สามีที่ดีและจะอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข เพราะเป็นวันที่พระแม่อุมาทรงบำเพ็ญตบะวิงวอนของแต่งงานกับพระศวะ และพระศิวะได้ตกลงรับสัญญา พร้อมทั้งให้พรสตรี ที่บำเพ็ญตบะในวันนี้
           
วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่ศาสนิกชนทำพิธีบูชาสักการะดงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และจะเชิญ พวกสันยาสีมาฉันอาหารที่บ้าน  

 

เดือน11

ในเดือนนี้ตลอด วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เป็นวันนวราตรี จะมีการทำพิธีบูชาตลอด 9 วัน เช่นเดียวกับเดือน 5 ส่วนวันขึ้น 10 ค่ำ เป็นวันพระแม่อุมา โดยเฉพาะพวกวรรณะกษัตริย์จะต้องบูชาเป็นพิเศษ เชื่อกันว่าใครบูชาพระนางในวันนี้จะได้รับชัยชนะตลอดปี
          
วันขึ้น 15 ค่ำ ในตอนกลางคืนพวกพราหมณ์และผู้นับถือศาสนาฮินดู จะบูชาพระวิษณุด้วยสิ่งของสีขาวล้วน
           
แรม 13 ค่ำ เป็นวันที่ผู้นับถือศาสนาทำพิธีบูชาพระแม่ลักษมี พระพิฆเนศ พระกุเวร พระสรัสวดี พระอินทร์ เมื่อบูชาแล้วต้องไปซื้อเสื้อผ้าและของใช้ใหม่ ๆ จะได้เกิดศิริมงคล 

           แรม 14 ค่ำ พวกพราหมณ์จะบูชาพระยายมในตอนกลางคืน มีการจุดประทีปตามไฟเป็นการถวายพระยายม เมื่อตายไปจะไม่ไปนรกแต่ถ้าหากทำกรรมหนักขนาดลงนรกก็จะมีไฟนำทางอันเป็นผลมา จากการจุดประทีปถวายพระยายนั่นเอง
  ....    
อนึ่งในวันนี้เป็นวันเกิดของอนุมาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นปางหนึ่งของพระศิวะ 

           แรม 15ค่ำ เป็นวันบูชาเทพทั้ง 5 พระองค์ และเป็นวันบูชาพระลักษมี  

 

เดือน12

           ขึ้น 1 ค่ำ เป็นวันถวายอาหารเทพเจ้าทั้งหมด 56 อย่าง
          
ขึ้น 2 ค่ำเป็น วันที่พี่ชายหรือน้องชายต้องไปกินอาหารบ้านพี่สาวหรือน้องสาว และจะต้องนำของขวัญไปให้ด้วย จากนั้นพี่สาวหรือน้องสาว จะเจิมหน้าผากให้เพื่อความเป็นสิริมงคล 
          
ขึ้น 12 ค่ำ เป็นวันบูชาพระวามนะ ปางหนึ่งของพระวิษณุ 
          
ขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันบูชาพระวิษณุ  

เดือน ยี่

           วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันบูชาพระวิษณุ และถวายประทีปแก่เทพเจ้าในเทวาลัย 
          
วันขึ้น 6 ค่ำ ถึงแรม 6 ค่ำ รวม 15 วัน เป็นวันพระราชพิธีตรยัมปวาย เป็นพิธีเริ่มการเพาะปลูกโดยบูชาพระอิศวรและ พระนารายณ์เดือน
          
วันขึ้น 5 ค่ำ บูชาพระสรัสวดีจะทำให้สติปัญญาดีขึ้น นอกจากนี้ ในวันเดียวกันยังบูชาพระกามเทพและพระวิษณุ ประชาชนจะพากันไปล้างบาปที่แม่น้ำ 
          
วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันบูชาเทพเจ้า แล้วแต่ใครศรัทธาองค์ใดก็บูชาองค์นั้น 
          
วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันศิวราตรี พวกพราหมณ์บูชาพระศวะตลอด 24 ชม. ด้วยการอดอาหารและอดนอม  

เดือน 4

           วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเผาของสกปรก

           แรม 1 ค่ำ เรียกว่าโฮลี มีการเล่นสาดสีใส่กันเพื่อให้เชื้อโรคสิ้นไป วันนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นวันตรุษของแขก เป็นวันสนุกสนานของคนทุกวรรณะ โดยเฉพาะพวกวรรณะศูทรถือว่าเป็นวันสำคัญมากในชีวิตของพวกเขา 

           แรม 15 ค่ำ เดือน 4 ถือว่าเป็นวันสิ้นปีของศาสนาฮินดู  

บทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "โอม..."

          บทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "โอม..."
และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย "โอม" อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งคำว่า โอม นี้เป็นหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!!
          โอม...เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
คำว่า โอม มีลักษณะดังที่เห็นในรูป สังเกตุได้จากลักษณะเด่น คือ
        -
มีเครื่องหมายคล้ายเลข ๓ นำหน้า
        -
มีเครื่องหมายคล้าย ง. งู ต่อท้าย
        -
มีถ้วยและหยดน้ำ (เครื่องหมายจุดพินทุ) อยู่ด้านบน
(นอกจากโอมแบบมาตรฐานนี้แล้ว ยังมีอีกหลายลักษณะ ตามแต่ละท้องถิ่นและภาษาของอินเดีย ผู้เขียนจะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป)
          อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง ๓ รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้
          อะ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ)
          อุ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ)
          มะ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ)
          อะ อุ มะ....เมื่ออ่านออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน จึงเกิดเป็นคำว่า "โอม" หมายถึงการเรียกขานพระนามของ ๓ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ในหนังสือบางเล่ม จะสลับความหมายไปมา บ้างก็ว่า อะ คือพระวิษณุ บ้างก็ว่า มะ คือพระศิวะ สลับไป สลับมา แต่ละเล่มก็เลยเขียนไม่เหมือนกันเลย

 

*************

 

 

 

            ตามความเห็นของผู้จัดทำ  ในประเทศไทยเรา เห็นว่า เป็นชาวฮินดูมากที่สุด เพียงแต่อ้างว่า ตนเป็นชาวพุทธ ตามบัตรประจำตัวประชาชน  เพราะจะเห็นว่า คนไทยเรา ยังเชื่อเรื่อง พรหมลิขิต เรื่องอ้อนวอน บูชาเทพเจ้าต่าง ๆ  มีการสร้าง ศาลพระภูมิ ไม่เว้นแม้แต่ในวัด สถานที่ราชการ เป็นต้น พระสงฆ์องคเจ้า ก็หันมาเน้นเรื่องเทพในศาสนานี้ เป็นอันมาก  มีการประชาสัมพันธ์ปลุกเศกมอมเมาประชาชน  เช่น ปัจจับันนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๒ พระสงฆ์หลายวัด เอาพระพิฆเนศวร์ ซึ่งเป็นบุตรของพระศิวะ กับ พระอุมาเทวี มาปลุกเศกมอมเมาประชาชน แข่งขันกันสร้างองค์พระฆเนศวร์ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ที่จังหวัดนครนายก  จังหวัดนครปฐม  เป็นต้น  ซึ่งไม่ใช่เรื่องของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาเลย  พระพุทธเจ้า อุตสาหะพยายามสอนให้สาวกของพระองค์ ออกมาจากเทพแล้ว แต่ผู้ที่ถือว่าตัวเองเป็นพุทธสาวก กลับทำตัวเป็นสาวก ของพระพิฆเนศวร์ไป  ชาวพุทธเรา (ที่แท้จริง) ควรศึกษา และประณาม ไม่ใช่แต่จะพูดว่า แล้วแต่ความเชื่อถือของแต่ละคน  แต่เป็นเรื่องของการดึงคน ออกมาจากการมอมเมา หวังพึ่งสิ่งที่เลื่อนลอยมองไม่เห็น  ถ้านับถือพระพิฆเนศวร์ แล้วรวยจริง ชาวอินเดีย ก็คงรวยกว่าชาวโลกไปแล้ว แต่นี่ อินเดีย ก็ยังมีคนจน เยอะแยะ มีแต่พวกที่สร้างพระพิฆเนศวร์นั่นแหละรวย พระสงฆ์เรา ควรหันมาเน้น คำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าสิ่งใด ๆ  อื่น อันไม่ใช่กิจของสงฆ์ หรือของชาวพุทธ    

 

 

บรรณานุกรม

พระมหาโชติ  โชติธมฺโม  เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พระพุทธศาสนา ช่วงชั้นที่ ๓ ม. ๒   พิมพ์ที่ สมพรการพิมพ์ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่: ๒๕๕๐

พระมหาโชติ  โชติธมฺโม  เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พระพุทธศาสนา ช่วงชั้นที่ ๓ ม. ๓ พิมพ์ที่ สมพรการพิมพ์ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่: ๒๕๕๑

พระมหาวุฒิชัย   วชิรเมธี,พร้อมคณะ หนังสือเรียนวิชาพระพุทธสาสนา ช่วงชั้นที่ ๓ ม. ๑ - ๓ 

เว็บไชต์ กรมการศาสนา : http://www.dra.go.th/ewtadmin/ewt/dra_buddha/main.php?filename=index_hindo

 

        วิทย์ วิศทเวทย์, ศ.ดร., พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก, ศ. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน พระพุทธศาสนา ม.๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่ม สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

 

 

 

 

 

เทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

 

พระพิฆเนศวร

พระพรหม

พระนารายณ์

พระอิศวร

พระพิฆเนศวร

พระพรหม

พระนารายณ์
(พระวิษณุ)

พระอิศวร
(พระศิวะ)

 

 

พระแม่ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

พระนางลักษมี

พระแม่ปารวตี

พระแม่ทุรคา

พระแม่สรัสวตี

พระนางลักษมี

พระแม่ปารวตี

พระแม่ทุรคา

พระแม่สรัสวตี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 8,954 Today: 2 PageView/Month: 74

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...